วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

รู้เรื่องชีส




เรื่องชีสเรื่องง่าย มาทำความรู้จักกับชีสกันดีกว่า





ชีสมีกี่ประเภท

ชีสบางประเภทได้หลายแบบ ง่ายที่สุดคือแบ่งตามชนิดของนม ว่าเป็นนมวัว นมแกะ หรือนมแพะ (cowsheep or goat’s milk) นมแต่ละชนิด มีรสและกลิ่นที่แตกต่างกัน อย่างนมแพะกลิ่นจะค่อนข้างแรง พอทำชีสก็จะได้ชีสรสและกลิ่นเข้มข้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
หรือแบ่งว่ามีเชื้อรามากหรือน้อยก็จะเป็น soft ripenedwashed rind และ blue
manchego
บางคนก็แบ่งตามประเทศไปเลย เช่นชีสของฝรั่งเศส อย่าง BrieComteCamembert ชีสของอิตาลี อย่าง Parmesan ชีสจากสเปน อย่าง Manchego ชีสของกรีก อย่าง Feta หรือชีส Gouda ของเนเธอร์แลนด์เหล่านี้เป็นชีสที่ชื่อดังสุดๆ แม้แต่ beginner ของชีสหรือคนที่ไม่ได้ใส่ใจอาหารการกินถึงขั้นเป็น Foodies ก็รู้จักกันดี
ใครอยากจะดูโปร ทำความรู้จักกับ 6-7 ชื่อเหล่านี้ไว้ให้ดี รับรองแค่นี้ก็คุยกับใครๆ เค้ารู้เรื่องค่ะส่วนแบบที่แอดวานซ์ขึ้นมาหน่อยก็จะแบ่งชีสตามรสสัมผัสและปริมาณน้ำค่ะ หลักๆ จะแบ่งเป็น soft, semi-soft, semi-hard และ hard ซึ่งจะว่าไปก็ไม่ได้มีหลักเกณฑ์ตายตัวชีสเด่นๆ ของกลุ่ม soft ก็จะเป็น Brie, Camembert, Feta
semi-soft ก็อย่าง Gouda หรือที่รู้จักกันดีอีกอันจะเป็น Mozzarella ที่ใช้ในการทำพิซซ่า
semi-hard ก็เช่น Cheddar และ Comte รวมไปถึง Gruyere ชีสชื่อดังของสวิตเซอร์แลนด์ที่มักใช้ในการทำ Fondue
hard (บางทีก็เรียกว่า firm) เช่น Parmesan และ Romano ซึ่งชีสแบบแข็งนี้มักจะใช้การฝน (grate) โรยเป็นผงหรือเส้นบางบนอาหาร
ชีสชนิดต่างๆ เหล่านี้ ก็อาจมีทั้งชนิดที่ทำจาก นมวัว นมแพะ และนมแกะ
อย่าง Romano ก็มี Pecorino Romano (sheep’s milk), Caprino Romano (goat’s milk), and Vacchino Romano (cow’s milk)
ชีสทำอย่างไร
พูดถึงชีสมาหลายชนิดก็อาจจะมีคนเริ่มอยากรู้ขึ้นมาบ้างว่า เอ๊ะ แล้วชีสเค้าทำกันยังไงนะ
ชีสเกิดจากการจับตัวเป็นกลุ่มก้อน (coagulation) ของโปรตีนเคซีนในนม บ้างก็ใช้กรดอย่างน้ำมะนาวหรือน้ำส้มสายชูในการทำให้โปรตีนจับตัว แต่ที่ใช้เยอะจะเป็นการใช้แบคทีเรียที่ทำให้เกิดกรดแลคติกอีกทีหนึ่ง พอชีสจับตัวเป็นก้อนจึงทำการดึงน้ำออก อันนี้ทำได้หลายวิธี บางครั้งก็ใช้จากการกดในแม่พิมพ์ที่มีรูให้น้ำออกได้ เป็นต้น ซึ่งลักษณะการดึงน้ำออกมากหรือน้อยก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้รสชาติและรสสัมผัสของชีสแตกต่างกันไป ชีสบางชนิดจะมีการทำไปล้าง (wash) หรือ ดึง (stretch) ด้วย บางทีก็จะมีการนำไปบ่ม (aging or ripening) และเติมราหรือแบคทีเรีย ซึ่งกรรมวิธีเหล่านี้แหละที่จะทำให้ทั้งกลิ่น รสชาติและรสสัมผัสของชีสแต่ละชนิดแตกต่างกัน

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มื้ออาหารของคนฝรั่งเศส

 ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มื้ออาหารของฝรั่งเศส


คนฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับอาหารและมื้ออาหารมาก โดยมองว่าการกินเป็นศิลปะสาขาหนึ่งซึ่งมีความละเอียดอ่อน ตั้งแต่การรับประทานอาหารเป็นคอร์ส การเลือกไวน์ให้เข้ากับอาหาร การใช้เวลาไปกับการละเลียดอาหารอย่างไม่รีบร้อน ดื่มด่ำไปกับรสชาติและบรรยากาศ
ผู้ที่รู้จักศิลปะในการทานอาหารนี้เราเรียกว่า gourmet เป็นคำนาม ซึ่งมีที่มาจากคำว่า groumet/groumete หมายถึงคนรับใช้ผู้ดูเลด้านการเสิร์ฟไวน์ ดังนั้น ในระยะแรก gourmet จึงหมายถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการเลือกไวน์นั่นเอง แต่ต่อมาคำนี้ได้มีความหมายกว้างขึ้น และกลายมามีความหมายถึงผู้รู้จักศิลปะแห่งอาหารเช่นทุกวันนี้

การแต่งกายของคนฝรั่งเศสในสมัยกลาง

ฝรั่งเศสสมัยกลาง
ในสมัยนี้ผู้หญิงและผู้ชายยังคงสวมเสื้อผ้าเหมือนชาวโรมัน จะใส่ชุดทูนิค 2 ชั้น และมีเสื้อ Mantle คลุม เสื้อชั้น ในจะยาวเป็นทรงตรงมีแขน มีเข็มขัดคาดเรียกว่า Chainse อีกชั้น หนึ่งจะ สวมชุดที่เรียกว่า Bliaud หรือ Bliaut ซึ่งไม่มีแขนและคอปก เสื้อคลุมจะมีที่กลัดไว้ที่ด้านหน้าหรือ ด้านข้างขวาที่ไหล่ (ชุด Bliaud ต่อมาจะเป็น Blouse)

ในศตวรรษที่ 13 ชุดทูนิคชั้นในที่เรียกว่า Chainse ต่อมาวิวัฒนาการเป็น Chemise ทำจาก ผ้าขนสัตว์ หรือลินินเนื้อนิ่มบางนุ่ม สีนวลอ่อน ๆ เป็นการเริ่มต้นของเสื้อชั้น ในเรียกว่า Lingerie ต่อมา มีการเปลี่ยนการใช้ผ้าที่ใช้ทำเสื้อผ้ามาเป็นผ้า Batiste Chambray เป็นผ้าที่ทำจากด้าย ลินินอย่างดี

ต่อมาเสื้อเชอร์โคท (Surcoat) ก็เป็นที่นิยมกัน ลักษณะเสื้อเป็นทรงหลวม ๆ คล้ายเอี้ยมเด็ก ตัวยาวด้านข้างจะโค้งลงมาเผยให้เห็นแนวสะโพก ซับในด้วยขนสัตว์ เสื้อเชอร์โคทเวลาใส่จะ มองเห็นชุดชั้น ในที่เรียกว่า คอทฮาร์ได (Cotehardie) มีลักษณะรัดรูปผ่ากลางหน้า แขนยาว กระชับติดกระดุมที่แนวข้อศอกถึงนิ้วก้อย

ประมาณกลางศตวรรษที่ 15 เสื้อ Surcoat เริ่มหมดความนิยมมานิยมเสื้อลาโรป (Larobe) แทน มีลักษณะเข้ารูปรัดเอว แขนแคบ กระโปรงพองกลางยาวถึงพื้น ผู้ชายใส่เสื้อ Jacket แทน Surcoat ต่อมานิยมใช้เสื้อคลุมแบบใหม่แทน Mantle หรือ Cloaks เรียกว่า Houppeland เป็น เสื้อคลุมตัวยาว แขนกว้าง ชายแขนเป็นชายโค้งประดับด้วยขนสัตว์ คอตั้งมีเข็มขัดคาด

ผมในสมัยแรกชายนิยมไว้ผมยาวถึงไหล่ ไว้หนวด ต่อมาโกนหนวดทิ้ง ทำผมบ๊อบ ข้างหน้า ไว้ผมหน้าม้า ระยะหลังจึงกลับมาไว้ผมยาวอีก

ผู้หญิง ไว้ผมแสกกลางถักเปีย 2 ข้าง บางทีใส่วิก ระยะหลังไว้ทรงมาดอนน่า คือ แสก กลางหวีลงมาข้างแก้ม ระยะหลังจะถักเปียแล้วขมวดเป็นวงกลมไว้ข้างหู หรือปิดหูทั้ง 2 ข้าง

การใช้หมวก ในระยะแรกผู้หญิงไว้ผมยาวถักเปีย แล้วใช้ผ้าลินินคลุมเรียกว่า Couvechef อังกฤษเรียก Wimple ต่อมาดัดแปลงเป็นหมวกเล็ก ๆ ทำจากผ้าลินินลงแป้งแข็งจับ เป็นจีบ มีสายรัดใต้คางเรียกว่า Toque ผู้ชายสวมหมวกที่เรียกว่า Chaperon turban ลักษณะ เหมือนหงอนไก่ ต่อมามีการใช้ net คลุมผมในลักษณะต่าง ๆ กัน

รองเท้า เรียกว่า พัวเลนซ์ (Poulaines) ได้แบบมาจากโปแลนด์ ลักษณะหัวรองเท้า ปลายทำงอนยาวและแข็ง มียศมากยิ่งยาวมาก ปลายยาวขนาดต้องเอาโซ่มาผูกกับข้อเท้า คน ธรรมดายาวเพียง 6 นิ้ว
ฝรั่งเศสสมัยฟื้นฟู
สมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 8 (1483-1498) หลุยส์ที่ 12 (1498-1515)

ผู้ชาย ใส่เสื้อรวม 3 ชั้น สวมเสื้อชั้น ในเป็นผ้าเนื้อบาง มีตกแต่งที่คอด้วยลูกไม้หรือกำมะหยี่ มีเสื้อตัวสั้น อีกชั้น เรียก Pourpoint เป็นเสื้อคอกว้าง นิยมคอเหลี่ยมนุ่งกางเกงรัดรูป มีสีสัน มีเสื้อ คลุม

ผู้หญิง เสื้อเป็นแบบเข้ารูป ชั้น ในจะมีรัดทรงทำจากผ้าลินิน เสื้อมี 2 แบบ
  • แบบอิตาเลียน จะเป็นเสื้อตัวยาวถึงพื้น แขนยาว พองรัดเป็นปล้อง ๆ
  • แบบฝรั่งเศส ลักษณะเหมือนกัน แต่แขนกว้างพับตลบเป็นขอบใหญ่
นิยมเสื้อคอสี่เหลี่ยม กระโปรงทรง Aline บาน ผ่าหน้าแยกให้เห็นชุดชั้น ใน ข้างในกระโปรง มีผ้าหนา ทำเป็นกระโปรงชั้น ในเพื่อให้กระโปรงชั้น นอกทรงรูปอยู่ได้

รองเท้า ทำจากไหม กำมะหยี่ นิยมหัวเหลี่ยม มีสายคาดทำด้วยทองหรือโลหะ
สมัยพระเจ้าฟรังสวาที่ 1 (1515-1547) พระเจ้าเฮนรี่ 2 (1547-4559)
ทั้งชายและหญิงยังนิยมสวมเสื้อคอกว้าง สี่เหลี่ยม และคอระบายสูงติดลำคอ แขนกว้าง และพองเป็นปล้อง ๆ นิยมเจาะผ้า กางเกงผู้ชายจะรัดปลายขาติดกับถุงเท้า มีเจาะผ้าตามตัว กางเกงให้เห็นผ้าชั้น ในเรียก Panes Breeches

ผู้หญิงเริ่มใส่กระโปรงชั้น ในแบบมีโครงเป็นสุ่มเรียก Hoop ช่วงบนของโครงกระโปรง ทำด้วยผ้าเนื้อหนา ช่วงล่างทำด้วยหวาย กางออกจากเอวถึงพื้น เรียกทรง Conical Shape จะมี Cotte สวมทับบนสุ่มเป็นชุดที่ปักฝีมืองดงาม กระโปรงชั้น นอกจะผ่าหน้าให้เห็นรอยปัก ตัวเสื้อคับ เข้ารูป มีเครื่องรัดทรงเรียกว่า Basquine ไม่เรียกว่า Corset

ทรงผมยังคงไว้ทรง Madonna แล้วมีผ้าคลุม มีปักตกแต่งด้วยมุก

สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 2 รูปทรงกระโปรงเป็นสุ่มกว้างออกด้านข้าง โดยใส่นุ่นหรือสำลี หนุนเสริมให้กางออก เครื่องเสริมกระโปรงทำโดยใช้ลวดหรือเหล็กหรืองาช้างหรือเงิน ใช้ผ้าหุ้ม เสื้อ เอวต่ำถึงแนวสะโพก มีเครื่องรัดอกและเอว เสื้อคอสูงติดคาง มีจีบรอบโดยมีโครงลวดเล็ก ๆ เป็นที่ยึดให้เป็นจีบ ริเริ่มการใช้ถุงมือหนัง และสวมรองเท้าส้นสูงจนถึงปัจจุบัน ใช้น้ำหอม
สมัยราชวงศ์ The Valois
พระเจ้าชาร์ลที่ 9 และพระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 (1560-1574, 1574-1589)
ในสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 9 เสื้อผ้าชายจะมีเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย คือใส่เสื้อ Pourpoint หรือ Doublet เป็นเสื้อเข้ารูปจากเอวลงมาจะมีชายเสื้อเหลือคลุมถึงสะโพกเหมือนใส่กระโปรงสั้น เจาะผ้า แขนยาว ปลายแขนคับ เสื้อชั้น ในมีปก บางทีคอฟู ๆ สวมเสื้อคล้ายปีกนก หนุนไหล่ให้ตั้ง นิยมแขวน นาฬิกาไว้ข้างเอว และมีกระเป๋าติดไว้ที่แขนเสื้อนอก สวมหมวกกำมะหยี่และไหม ประดับขนนก

หญิงนิยมสวมกระโปรงซึ่งมีโครงด้านในลักษณะเป็นวงล้อกลม ๆ ติดไว้ที่สะโพกเพื่อให้ กระโปรงภายนอกบานออก สวมเสื้อคอสูง บานรอบคอหนุนไหล่ให้ตั้ง แขนพอง มีแขนปลอมสวมไว้

ผม ชายตัดสั้น ไว้หนวดตัดเรียวแหลม หญิง ผมแสกกลางม้วนไว้ด้านข้าง นิยมใช้ปลอกมือ เรียกว่า Muffs ทำด้วยขนสัตว์สีต่าง ๆ เครื่องแต่งกายนิยมสีดำ

สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 3 แบบเสื้อนับว่าเสื่อมลงเพราะพระองค์นิยมฉลองพระองค์แบบผู้หญิง สวมเสื้อซับในให้พอง มีลายตามขวาง ชายเสื้อด้านหน้าแหลม ด้านข้างพอดีเอว คอเสื้อขดด้วยลวด บนผ้า ปลายจะบานออก ชายเสื้อจะลงมาคลุมสะโพก ช่วงขาสวมกางเกงยาวแค่เข่า เรียกว่า Canions ใส่เสื้อคลุมทั้งยาวและสั้น เรียกว่า Capes ถ้ามีหมวกติดกับเสื้อคลุมเรียกว่า Cowl

เสื้อของผู้หญิงไม่มีการเปลี่ยนแปลง กระโปรงจะมีโครงด้านในเรียกว่า Frencdh verdingale เป็นหมอนผูกไว้ที่ส่วนสะโพกเพื่อให้กระโปรงกางออก รูปทรงกระโปรงจะแบน ด้านหน้าและหลังพองออกมาก ๆ เสื้อคลุมส่วนมากจะยาวถึงพื้น กางออกเป็นรูประฆัง ริมชายเสื้อ ประดับด้วยขนสัตว์ แขนพอง ผ่ากลางหน้า

ผม นิยมขดเป็นก้นหอย แสกกลาง เกล้ามวยไว้ข้างหลัง รองเท้า นิยมรองเท้า Boots ทำจากหนัง
สมัยพระเจ้าเฮนรี่ที่ 4 และพระนางแมรี่ เดอร์ มิดิซี (1589-1610-1617)
มีการใช้ waistcoat แทน doublet หรือ Pourpoint ใช้ Jacket เป็นตัวเสื้อนอกแทน เสื้อ คลุม ชุดทูนิคเปลี่ยนเป็น dress รองเท้าผู้ชายนิยมส้นสูงที่ตกแต่งด้วยดอกกุหลาบ

กระโปรงผู้หญิงกางออกมาจากเอวเป็นวงกลม บางทีก็ออกจากด้านข้างแบบสเปนยังคงใช้ โครงด้านใน เครื่องรัดทรง กระโปรงทำจากผ้าไหมปัก และตกแต่งริบบิ้น
สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 (1610-1643)
ระยะแรกยังคงใช้เสื้อรัดรูป มีตกแต่งที่คอและแขนด้วยลูกไม้ สวมกางเกงขายาวถึงเข่า รวบรัดปลายขา ไว้ด้วยริบบิ้น เรียกว่า Cannons เลิกใช้กางเกง Trunk hose ใส่ Waistcoat แขนเสื้อจะเป็นแขนของตัวเสื้อเอง ไม่ใช้แขนเสื้อปลอม เสื้อเจาะเห็นเสื้อเชิ้ต ตัวใน ปกเป็นปกหลอก

รองเท้าบูท ทำด้วยหนัง ได้แบบจากสเปน รองเท้าจะมี Spurs ที่ส้นรองเท้า ถุงเท้าถักจาก ไหมสีแดง

ผมนิยมสวมวิกเป็นหลอด ๆ ชายไว้ผมแสกกลางดัดหยิกปล่อยยาวถึงไหล่ ผู้หญิงรวบขึ้น แล้วปล่อยบางส่วนลงมาเป็นหลอด

หญิง ระยะแรกแต่งกายเหมือนเดิม ระยะหลังเสื้อไม่รัดตัวมาก ตัวกระโปรงพองน้อยลง เอวเริ่มสูงขึ้น บางทีสวมผ้ากันเปื้อนประดับลูกไม้

รองเท้าทำด้วยผ้าต่วนไหมหรือหนังจากมอรอคโค ส้นสูง ส่วนถุงน่องสีชมพู สีแดง รองเท้า มีลิ้น ข้างบนติดดอกกุหลาบบนลิ้น ด้านบน
สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ค.ศ. 1644-1661-1670
ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะเป็นช่วงที่ฝรั่งเศสเป็นผู้นำแฟชั่น เครื่องแต่งกายจะนิยม ประดับด้วยลูกไม้

ผู้ชาย จะสวมเสื้อข้างในรูดพองที่ข้อมือ และมีระบายลูกไม้เป็นแถบกว้างที่ปลายแขน และติดลูกไม้บริเวณอกเสื้อ สวมเสื้อตัวนอกเป็น Jacket เอวลอย นิยมผ้าพันคอประดับลูกไม้ คาดสายสะพายประดับลูกไม้บาง บางแบบสวมเสื้อคลุมยาวและพอง บางแบบจะสวมทั้งกางเกง และกระโปรง ลักษณะกระโปรงจีบพองประดับลูกไม้ กางเกงจะรูดพองที่ปลายขา และมีระบาย ลูกไม้กว้างที่ปลายขากางเกง

ผู้หญิง สวมกระโปรงชั้น ในพองประดับด้วยทอง เงิน ลูกไม้ ริบบิ้น เป็นผ้าไหมคอกว้าง แขนจีบพองติดลูกไม้เป็นระบาย กระโปรงชั้น ที่ 2 สวมทับตัวแรกมีผ่าหน้า ด้านหลังปล่อยยาว เป็นหาง สวมเสื้อคลุมมีจีบพองด้านหลังมีหมวกเย็บติด รูปทรงของเสื้อด้านในจะรัดรูป

รองเท้า ผู้หญิงจะสวมรองเท้าส้นสูง ทำจากผ้าต่วนปัก หรือหนังตกแต่งด้วยริบบิ้น ดอกกุหลาบ เพชรพลอย ผู้ชายสวมรองเท้า Baskin เป็นรองเท้าหนัง และผ้ามีสายรัดยาวครึ่งน่อง หัวเหลี่ยม ส้นใหญ่ ด้านหน้ามีโบว์ประดับ

ผม นิยมสวมวิก ให้ยาวและหยิก
สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ครองราชย์ต่อมาไม่นานก็ลง สำเร็จโทษโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ฉะนั้น การแต่งกายของสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จะมีการ เปลี่ยนแปลงเครื่องประกอบการแต่งกายเล็กน้อย ทรงผมของผู้ชายจะสวมวิกที่เรียกว่า Cadogan wig มีม้วนเป็นหลอดอยู่สองข้าง รูปทรงของหมวกและการผูกผ้าพันคอของผู้ชาย ส่วนของผู้หญิง รูปทรงกระโปรงยังคงบานในลักษณะวงกลมเช่นเดิม มีโครงในกระโปรงเรียกว่า Doble Panmiers ชุดก็ยังคงมีลูกไม้และริบบิ้น ตกแต่งเป็นผ้าต่วนไหมและกำมะหยี่ กระโปรงจะมีผ่าหน้าและยกหยัก รั้งด้านข้าง ทั้ง 2 ข้างขึ้น ไปพองอยู่ด้านข้าง 2 ข้าง
ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 มีความสุรุ่ยสุร่าย หรูหรามาก ประกอบกับพระมเหสีคือ พระนางแมรี่ อังตัวเนต ชอบการแต่งกาย ฉลองพระองค์ด้วยเสื้อ รัดรูป คอลึก กระโปรงพอง ด้านหลังด้วยการจับจีบเดรฟ มีโครงกระโปรงที่เรียกว่า สุ่มไก่ ทำด้วยโลหะสามารถกางและหุบได้ ทรงผมประดับด้วยไข่มุก ขนนก และดอกไม้

ผู้ชายจะสวมเสื้อคลุมยาวปิดสะโพก นุ่งกางเกงรัดขา ใส่ถุงเท้ายาว เสื้อชั้น ในเป็นเชิ้ต มี จีบระบายที่อกและแขน มีเสื้อตัวสั้น ทับก่อนใส่เสื้อคลุม
สมัยไดเรคโตรี่ Directories (1795-1799)
คณะกรรมการไดเรคโทรี่ เข้าปกครองประเทศฝรั่งเศสหลังจากฝรั่งเศสกำลังปฏิวัติครั้งใหญ่ และมีนักออกแบบได้เปลี่ยนแนวคิดการออกแบบเครื่องแต่งกายแนวใหม่ เรียกว่านิวคลาสสิคซีซัม (New Cassicism) ซึ่งมีลักษณะเหมือนการแต่งกายของกรีกและโรมันในยุคท้าย ๆ คือ เสื้อมี ลักษณะเอวสูงขึ้น ไปถึงอก ทรงหลวม ๆ มีโบว์ตกแต่งใต้อก คอกว้าง เลิกใช้เครื่องรัดทรง ใช้ผ้า เนื้อบางเบา สวมรองเท้าสานเตี้ย

การแต่งกายของชาย จะสวมเสื้อเชิ้ต สีขาว ใส่เสื้อรัดตัวที่เรียกว่า waist coats ทับสวม กางเกงรัดขายาวครึ่งน่องหรือถึงข้อเท้า สวมเสื้อโคทยาวปิดสะโพก แขนรัดรูปปกแบะใหญ่ออก มีขนาดใหญ่ นิยมผูกผ้าพันคอสูง ไว้ผมทรงยุ่ง ๆ มีจอนข้างหูเรียก “dog’s ears” สวมรองเท้าบูท
สมัยฝรั่งเศสคอนซูเลท และเอ็มไพร์

The French Consulate and first Empire 1799-1815
ในสมัยนี้ประเทศฝรั่งเศสจะตกอยู่ในการปกครองของจักรพรรดิ โปเลียน ซึ่งทำการปฏิวัติ มาจากคณะไดเรคโตรี่

เครื่องแต่งกายจะเหมือนกับสมัยของ Directories แต่จะเรียกทรงเอ็มไพร์ หรือเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า คลาสสิเคอร์ สไตล์ “Classical Style” มีลักษณะเหมือนกับกรีกและโรมัน คือ ลักษณะชุดกระโปรงจะตรงลงไประดับของเอวอยู่ใต้อก

เครื่องแต่งกายชายเริ่มจะเป็นปัจจุบันมากขึ้น เริ่มนุ่งกางเกงทรงใหม่ ๆ เริ่มใช้ผ้าพันคอ และออกแบบเสื้อสูทแบบต่าง ๆ มีทั้งแบบ Claw hammer taill เป็นเสื้อสูทที่ข้างหน้าสั้น แค่เอว ข้างหลังเป็นหางยาวคลุมสะโพกมีแหวกตรงกลาง และแบบเต็มทั้งตัว

ในสมัยนี้จะมีเสื้อยกทรงตัวแรกทำด้วยผ้ามัสลิน เรียก แบนเดิน “Bandean” ซึ่งต่อมา วิวัฒนาการเป็นเสื้อยกทรง
สมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 (1815-1824)
จะเป็นสมัยที่ฝรั่งเศสกลับมาหรูหรา ฟุ่มเฟือยอย่างเดิมอีก โดยนำเอาการแต่งกายของ สมัยพระนางแมรี่ อังตัวเนต และพระนางโยเซฟฟิน ซึ่งเป็นมเหสีของนโปเลียนมาผสมผสานกัน มีการตกแต่งหรูหราเพิ่มขึ้น แต่พอควร ให้ความรู้สึกละเอียดอ่อน เอวซึ่งเคยสูงก็กลับมาอยู่ในระดับ ปกติและรัดรูป กระโปรงบานออก แขนใหญ่ พองฟู ติดลูกไม้หรือโบว์ที่ขอบแขนเสื้อ แขนเสื้อทรง ขาหมูแฮม ผมเป็นลอนที่ท้ายทอยและหน้าผาก
สมัยพระเจ้าหลุยส์ฟิลลิป (1830-1848)
ในสมัยนี้จะลดความหรูลง มีการจีบและระบายน้อยลง มาใช้การปักแทน ผู้หญิงจะไว้ผม เป็นหลอดและใช้โบว์คาดไว้ สวมรองเท้าหนัง มีขนสัตว์และริบบิ้นผูก เครื่องรัดทรงมีลูกไม้ตกแต่ง สีดำ ส่วนชายสวมเสื้อคลุมมีปก ตัวเสื้อยาวผ่าหน้าเข้ารูป เรียกว่า frock coat สวมกางเกงทรงแคบ เสื้อชั้น ในสีขาวมีปกตลบที่คอ
ฝรั่งเศสสมัยการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (1848-1870) ในสมัยนี้ฝรั่งเศสจะมีการปกครองแบบมีประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารประเทศ จะมีการ แต่งกายที่มีลักษณะที่เรียกว่า S-line สตรีจะสวมกระโปรงที่มีเส้น Princess ใช้ผ้าไหม ใช้ผ้าเนื้อ บางทำเป็นปก สวมถุงมือ ผมหยัก ใช้โครงลวดข้างในดันเฉพาะด้านหลัง เอวเล็ก และดันทรงให้ อกแอ่น เสื้อมีแขนปลอม สำหรับผู้ชายสวมเสื้อคลุมตัวหลวม ซับในด้วยผ้าต่วน เสื้อเชิ้ต สวมด้านในนุ่งกางเกง ลายทางที่นิยมกัน สวมหมวกไหมสีดำ รองเท้าดำ

ฝรั่งเศสสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 (1870-1880)
การแต่งกายของสตรีสมัยนี้จะคล้ายสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 ลักษณะของทรงกระโปรง จะเป็นตัว “S” มีการดันก้นด้านหลังให้โด่งขึ้น ด้วยการใช้เครื่องชั้น ในเรียกว่า Braided Wire bustles เป็นโครงลวดที่ทำเป็นชั้น ๆ กระโปรงที่ใส่ด้านในจะมีลูกไม้ประดับเป็นชั้น ๆ เพื่อให้ข้างหลังพอง

และในปีต่อ ๆ มาก่อนมีสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็เริ่มมีนักออกแบบเกิดขึ้น มีแฟชั่นที่เรียกว่า Gibson girl มีลักษณะเป็นเสื้อรัดรูปดันอกใช้ผ้าตาเล็ก ๆ สี่เหลี่ยมเป็นผ้าทาฟต้า สวมเสื้อกัก สั้น ผ่าหน้าที่เรียกว่า Bolero ผูกโบว์ที่คอ ประดับด้วยกุหลาบ ใบไม้ ลูกไม้ มีเสื้อ Princess line จากสมัยนี้
ฝรั่งเศสหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (1920-1930-1942)
ในสมัยที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศไทยเราอยู่ในสมัยรัชกาลที่ 6 หลังจาก สงครามโลกแล้ว ผู้หญิงจะมาแต่งตัว นุ่งกระโปรงรัดรั้งอย่างเดิมไม่ได้ เพราะในช่วงสงครามผู้หญิง จะต้องแต่งตัวแบบสบาย ๆ และเศรษฐกิจหลังสงครามตกต่ำ จึงมีการเปลี่ยนแปลงแฟชั่นใหม่ในปี ค.ศ. 1920 ซึ่งเรียกว่า The Gay Twenties หรือแฟชั่นปี 1920 ซึ่งเป็นมูลฐานในการเรียกแฟชั่นแต่ ละปี

The Gay Twenties เป็นเสื้อที่เก๋สวมใส่สบาย ทรงหลวม ตัวยาวแค่สะโพก กระโปรง คลุมเข่าเรียกว่า Gasby สำหรับชุดราตรียาว นิยมผ้าต่วนดำ ทรงกระโปรงจะบานตรงชาย เล็กน้อย เปิดผ่าด้านหลัง เริ่มมีชุดอาบน้ำที่ทำจากผ้าเจอร์ซี่ ถุงน่อง เสื้อยกทรง “Brassiere” กระโปรงชั้น ใน “Petticoat” ทำด้วยผ้าเจอร์ซี่ ชุด Slip มีสเตย์รัดหน้าท้อง
สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 (1942)
เป็นภาวะที่ฝรั่งเศสขาดแคลนเครื่องแต่งกาย สินค้าผ้าขาดแคลน การแต่งกายของผู้หญิง ต้องมีการจำกัดเรื่องผ้า เป็นกระโปรงทรงตรง ๆ แคบ ผ่าข้างหลัง หรือหน้าเพื่อให้เดินสะดวก ชายเสื้อกระโปรงพับได้ไม่เกิน 1 นิ้ว
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (New Look 1974) เมื่อสงครามโลกดำเนินมาได้ 4 ปี หลังจากนี้ก็มีนักออกแบบเสื้อผ้าเกิดขึ้น หลายคน จนกระทั่ง ค.ศ. 1974 Christian Diro ได้นำผลงานที่ชื่อ New Look ออกแสดงและประสบ ความสำเร็จเป็นลักษณะกระโปรงบาน คลุมเข่า จนถึงข้อเท้ามีหลายแบบทั้งเป็นผ้าเฉลียง จีบ รอบตัว ต่อระบายเป็นชั้น ๆ มีความกว้างมาก เสื้อเป็นเสื้อเข้ารูป และมีกระโปรงทรง A-line ที่ น่าสนใจอีกชั้น หนึ่ง ลักษณะกระโปรงจะบานออกเล็กน้อย และใช้เกล็ดตามยาวช่วยทำให้ดู รูปร่างดีขึ้น

สำหรับเครื่องแต่งกายของผู้ชายได้วิวัฒนาการจากเดิมมาก ตัดความหรูหราเกินความ จำเป็น ลงไปบ้าง และใช้เป็นชุดสากลมาจนปัจจุบันนี้

รู้เรื่องชีส

เรื่องชีสเรื่องง่าย มาทำความรู้จักกับชีสกันดีกว่า ชีสมีกี่ประเภท ชีสบางประเภทได้หลายแบบ ง่ายที่สุดคือแบ่งตามชนิดขอ...